ภาพ A ความไม่เหมาะสมในการใช้ Steam Trap ตัวเดียวกับหลายอุปกรณ์
แรงดันตกคร่อมหรือ Pressure drop ที่เกิดขึ้นแต่ละอุปกรณ์ จะมีค่าไม่กัน อาจส่งผลให้อุปกรณ์บางตัวไม่สามารถระบายน้ำ Condensate ได้ เช่น อุปกรณ์ตัวที่ 4 ที่อยู่ปลายทาง แรงดันขาออกอาจมีค่าต่ำกว่าแรงดันขาออกอุปกรณ์ต้นทาง น้ำ Condensate จะไม่ถูกระบายออก นอกจากจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิในอุปกรณ์ได้แล้ว อาจส่งผลให้เกิด Water Hammer ได้ด้วย
ภาพ B การติดตั้ง Steam Trap ที่ถูกต้องแยกตามอุปกรณ์
การแยกติด Steam Trap ในแต่ละอุปกรณ์ จะทำให้ความสามารถในการระบายน้ำ Condensate ได้ดีกว่าควบคุมอุณหภูมิได้ตามต้องการโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา Water Hammer ในท่อ Condensate ด้วย นอกจากนี้การติดวาล์วกันกลับ (Check Valve) ตรงทางขาออกของ Steam Trap ยังช่วยป้องกันน้ำ Condensate ไหลกลับคืนเข้าสู่อุปกรณ์ด้วย
ภาพ C ข้อควรระวังเมื่อต้องการเก็บ Condensate กลับโดยท่อยกขึ้น(Head)
หากแรงดันที่ใช้มีค่าต่ำ ต้องระวังเมื่อมีการนำ Condensate กลับคืนโดยการยกท่อสูง เพราะค่าแรงดันตกคร่อมจะมีค่าลดลงโดยประมาณ 1 bar เมื่อยกสูง 7 เมตร หรือ 2 psi เมื่อยกสูง 3 ฟุต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิด Water Hammer หรือเสี่ยงน้ำกระแทก แนะนำให้ทำถังรวมก่อนยกท่อสูง
ภาพ D ผลของการเพิ่มแรงดันยกหรือ Head ที่ท่อส่งเข้า Steam Trap
วิธีแก้อีกแบบของอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันค่าต่ำๆ คือ การเพิ่มค่า Head ก่อนเข้า Steam Trap จะทำให้ค่าแรงดันตกคร่อมของ Steam Trap มีค่าสูงขึ้น