On Line Safety Valves Test
การทดสอบการทำงานของวาล์วนิรภัยในขณะที่วาล์วติดตั้งใช้งาน (TESON-On line safety valves test)
ในความหมายของวาล์วนิรภัยหรือ safety valves นั้น สำหรับผู้ดูแลโรงงาน คืออุปกรณ์ที่ระบายความดันเกินออกไปก่อนที่จะทำความเสียหายต่อระบบอื่น แต่สำหรับผู้ตรวจสอบวาล์ว จะสนใจว่า สปริงของวาล์วยังทำงานตามความดันที่ตั้งไว้อยู่หรือไม่ และไม่มีการรั่วไหลออกจากวาล์วด้วย ดังนั้นการทำ on line safety valves test ก็คือการวิเคราะห์การทำงานของสปริงว่ายังมีคุณภาพในการควบคุมความดันตามที่ต้องการได้หรือไม่
โดยวัตถุประสงค์ของการทำ On line safety valves test เพื่อหาค่า Set point ในระบบที่แท้จริง ในขณะที่วาล์วยังติดตั้งใช้งานจริง ในตำแหน่งจริง และควบคุมระบบตามที่ออกแบบไว้ตามจริง ซึ่งเรียกว่า การตรวจสอบแบบมีความดัน หรือ Hot Differential Test Pressure-HDTP ในขณะที่การนำวาล์วไปทดสอบและตั้งค่าใน Work shop หรือที่เรียกว่า Cold Differential Test Pressure-CDTP จะทำให้ค่าที่ตั้งมีความเบี่ยงเบนเมื่อนำไปใช้งานจริง และโดยมากแล้ว วาล์วที่นำกลับมาทดสอบและตั้งค่าใหม่นั้น ประมาณ 25% ของวาล์วที่ซ่อมแล้ว จะต้องทำการปรับแต่งค่า Set point ใหม่
หลักการทั่วๆไปของวาล์วนิรภัยคือ แรงกดสปริงกดหน้าวาล์วไว้ โดยมีค่า Set point เมื่อความดันในระบบเริ่มชนะแรงกดของสปริง ทำให้หน้าวาล์วเปิดออก ดังนั้นการตั้งค่า Set point ก็คือการตั้งค่าให้สปริงมีแรงกดเท่ากับค่าที่ต้องการ
ดังนั้น เราต้องหาค่า “แรงกด (FORCE)” ของสปริงมีค่าเท่าใด เพื่อทำให้ได้ค่าที่ชนะ “ความดัน (PRESSURE)” เปิดออกของระบบ หรือ Set point ตามที่ต้องการ วิธีการในการหาค่าแรงกดของสปริงดังกล่าว ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทำการดึงก้านวาล์วขึ้นให้เผยอเพียงเล็กน้อย เพื่อเอาชนะแรงกดของสปริงและแรงดันในระบบได้
อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่
1. Test Rig เป็นส่วนที่ติดตั้งกับก้านวาล์ว เพื่อยกก้านวาล์วทดสอบ ซึ่งประกอบด้วย กระบอกไฮดรอลิค (hydraulic cylinder piston) ตัววัดแรงที่กระทำ (force sensor) และตัววัดระยะยกของก้านวาล์ว (lift sensor) อุปกรณ์ส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กับความดันที่ใช้ของวาล์ว
2. Power Box ทำหน้าควบคุมส่วนส่งกำลัง ปั๊ม/วาล์ว ไฮดรอลิค ควบคุมสัญญาณอิเลคทรอนิค และตัด/จ่ายระบบ ควบคุมความปลอดภัย
3. Note Book การประมวลผลผ่าน Software
ในการบันทึกค่าจะได้เป็นลักษณะกราฟของแรงกระทำ แรงดัน และระยะดึงยกขึ้น การวิเคราะห์ค่าจะเป็นลักษณะเฉพาะในการอ่านค่าเทียบกับ TESON diagram ซึ่งจะบอกให้ทราบว่า วาล์วนิรภัยที่ทดสอบมีค่า Set point เท่าใด สามารถนำไปเทียบค่ากับการออกแบบ และตั้งค่า Set point ได้ใหม่ หากค่าทดสอบมีความเบี่ยงเบนไป และทดสอบใหม่ได้อีกครั้ง เพื่อให้ตรงกับค่าออกแบบหรือต้องการได้
ข้อดีการทำ On line safety valves test
• ตรวจสอบค่า Set point ว่าตรงตามที่ต้องการจากหน้างานจริง สภาวะการใช้งานจริง
• ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องหยุดระบบเพื่อถอดวาล์วมาทดสอบใน Work shop
• สามารถตั้งค่าใหม่จากหน้างาน และทำการวัดทดสอบ จบงานในระยะเวลาสั้นๆ
• วาล์วนิรภัยที่ติดตั้งเพื่อควบคุมความดันที่หม้อไอน้ำ เมื่อทดสอบด้วยวิธีนี่แล้วสามารถนำเอกสารรายงานแนบไปกับเอกสารการตรวจสอบหม้อไอน้ำตามข้อบังคับของราชการได้