“หน้าแปลน” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญก่อนการเลือกซื้อเครื่องจักร หรือวาล์วต่างๆ เพราะเปรียบเสมือนเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อของระบบท่อภายในโรงงาน ซึ่งช่างหรือวิศวกรประสบการณ์ยังน้อยอาจมีการมองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยเหล่านี้ไป และทำให้ซื้อเครื่องจักร หรือวาล์วผิดชนิดได้
มาตราฐานของหน้าแปลนนั้นมีหลายมาตรฐาน เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกใช้งาน เราจำเป็นต้องทราบถึงขนาดมาตรฐานของหน้าแปลนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น จึงขออธิบายมาตรฐานคร่าวๆที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในโรงงาน และตามอาคาร 3 มาตรฐานด้วยกัน
1. ANSI (American National Standard Institute)
เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานอเมริกัน (ANSI) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร รวมไปถึงอุตสาหกรรม, องค์กรพัฒนามาตรฐาน, สมาคมการค้า ฯลฯ ซึ่งในส่วนของหน้าแปลนจะมีความสามารถในการทนแรงดันที่แตกต่างกันโดยมาตรฐาน ANSI จะใช้หน่วย PSI เป็นมาตรฐานในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ANSI150 หมายถึงหน้าแปลนชิ้นนี้สามารถทนแรงดันได้มากที่สุดที่ 150 PSI เป็นต้น
2. DIN (Deutsches Institut für Normung)
เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานเยอรมัน เช่นเดียวกันกับ ANSI มาตรฐานนี้จะถูกกำหนดให้ใช้ในส่วนอุตสาหกรรมต่างๆเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารนั่นเอง กลับกันในส่วนของหน่วยความสามารถในการทนแรงดันในมาตรฐาน DIN จะใช้หน่วย Bar เป็นหลักและเปลี่ยนตัวย่อของแรงดันเป็น PN6 PN 10 PN25 ด้วยนะ
3. JIS (Japanese Institute of Standard)
มาถึงมาตรฐานสุดท้าย เป็นมาตรฐานที่วางระบบโดยสถาบันมาตรฐานญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งมาตรฐาน JIS นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหน้าแปลน เหล็กเส้น หรือแม้กระทั่งปั๊มน้ำเองก็เช่นกัน ซึ่งหน่วยของความสามารถในการทนแรงดันจะเป็นหน่วย kgf/cm2 หรือ Pascal แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถเทียบเป็น Bar ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น JIS10K ทนแรงดันได้ 10 Pa หรือ 10 Bar นั่นเอง