Carry over เป็นปรากฏการณ์ที่ไอน้ำมีน้ำปนมาก เมื่อมีการป้อนน้ำเข้าไปในหม้อไอน้ำเพื่อผลิตเป็นไอน้ำ น้ำป้อนเหล่านั้นมักจะมีสารละลายและสารแขวนลอยอยู่เป็นจำนวนหนึ่ง เมื่อน้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำจะทำให้ความเข้มข้นของสารละลายและสารแขวนลอยเพิ่มขึ้น ซึ่งความเข้มข้นนี้จะทำให้น้ำในหม้อไอน้ำเดือดและก่อตัวเป็นหยดน้ำ กับเป็นฟองออกไปกับไอน้ำที่นำไปใช้งาน

เมื่อมีน้ำปนเข้าไปกับไอน้ำสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ
—>   ทำให้การถ่ายเทความร้อนลดลง
—>   ทำให้เกิดการกัดกร่อน ,การอุดตันของท่อไอน้ำ ,เกิดการสะสมของตะกรัน
—>   ทำให้เกิดwater hammer ส่งผลเสียหายต่ออุปกรณ์ภายในระบบ

ลักษณะการเกิด carry over สามารถแบ่งออกตามสาเหตุได้ 3 ลักษณะดังนี้ ได้แก่ Priming (ไอน้ำและน้ำเกิดพร้อมกัน) , Foaming (การเกิดฟองก๊าซ) และ Carry over ของซิลิกา

1. Priming (น้ำประทุ)
เกิดจากระดับน้ำสูงเกินไป หรือ มีการใช้ปริมาณไอน้ำมากกว่าอัตราการผลิตไอน้ำอย่างกะทันหันทำให้มีการดูดน้ำที่ผิวน้ำภายในหม้อน้ำออกไป และถ้าความดันในหม้อน้ำลดลงด้วย ส่งผลให้Enthalpy ลดลงตามความดัน ทำให้มีน้ำระเหยมากขึ้นจากความดันที่ลดลง ทำให้น้ำในหม้อต้มเดือดอย่างรวดเร็วจนฟองก๊าซและละอองน้ำที่เกิดขึ้นภายในหม้อไอน้ำ ไม่ถูกแยกออกจากไอน้ำ ทำให้มีน้ำปนไปกับไอน้ำที่จะนำไปใช้แลกเปลี่ยนความร้อน

2. Foaming(การเกิดฟองก๊าซ)
เกิดขึ้นจากการที่มีชั้นของฟองก๊าซเกิดขึ้นที่ผิวน้ำเนื่องจากน้ำในหม้อไอน้ำมีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเดือดอย่างรุนแรงทำให้มีน้ำปะปนไปกับไอน้ำได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องควบคุมความเข้มข้นของสารละลายและสารแขวนลอยในหม้อไอน้ำไม่ให้เกินค่ามาตรฐานโดยระบายน้ำบางส่วนทิ้งไป หากไม่มีการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้งไป อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายกับหม้อไอน้ำได้

3. Carry over ของซิลิกา
หากความดันของไอน้ำมีค่าสูงขึ้น อัตราการละลายของซิลิกาก็ยิ่งสูงขึ้นด้วย ซิลิกาที่ถูกพา ออกไปจะเกาะจับเป็นของแข็งอยู่ตามผนังท่อไอน้ำหรือตามอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณ
การจับเกาะมากขึ้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันของท่อไอน้ำ และเกิดการระเบิดของอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำได้

สาเหตุ และแนวทางการป้องกันผลกระทบจาก carry over

ref: https://www.pacificboilers.com.au/technical/boiler-water-carry/

*ข้อมูลอ้างอิงจากคู่มือการใช้งานและดูแลบำรุงรักษาหม้อน้ำ